

E-Learning

DT & CS
By KruRungniran Khatcharat




บทเรียนที่
การรวบรวมข้อมูล
เพื่อแก้ปัญหา
Rungniran Khatcharat
ข้อมูล ( data )
คือ ข้อความจริง หรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
ข้อมูลถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดนเกิดขึ้นอย่างมากมายทำให้ข้อมูลถูกเผยแพร่และกระจายการใช้งานกันอย่างทั่วถึง โดยปกติแล้ว ข้อมูลสำหรับการนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะได้มาจากแหล่งที่มา 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. แหล่งข้อมูลภายใน เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรทั่วไป ข้อมูลที่ได้มานั้นอาจมาจากพนักงานหรือมีอยู่แล้วในองค์กร เช่น ยอดขายประจำปี ข้อมูลผู้ถือหุ้น รายงานกำไรขาดทุนรายชื่อพนักงานเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอกทราบหรือไม่ก็ได้ หากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักขององค์กรและมีความสำคัญมาก เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกสู่ตลาดใหม่ข้อมูลการทดลองแปรรูปสินค้า หน่วยงานนั้นอาจมีการปกปิดไว้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้
2. แหล่งข้อมูลภายนอก เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ภายนอกองค์กร โดยทั่วไปแล้ววสามารถนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในองค์กรหรือนำมาใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ระบบงานที่สมบูรณ์ขึ้นได้ ข้อมูลลูกค้า เจ้าหนี้ อัตราดอกเบี้ยสถานบันการเงิน กฎหมายและอัตราภาษีของรัฐบาล หรืออาจรวมถึงข้อมูลบริษัทคู่แข่งด้วย ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่อยู่ภายในบริษัทหรือองค์กรแต่อย่างใด เราสามารถหาข้อมูลจากแหล่งภายนอกนี้ได้จากบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลหรือจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ได้ทั่วไป
จากแหล่งที่มาทั้งสองนี้อาจจะได้มา 2 รูปแบบ คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้สอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลให้ได้ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผล เพื่อเป็นสารสนเทศผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ดังตัวอย่างข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งออกสินค้า สถิติการนำเสนอสินค้า ข้อมูลเหล่านนี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. การสำมะโน คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษา ใช้กรณีประชากรมีขนาดเล็กหรือขอบเขตไม่กว้างขวางนัก ( เพราะเป็นวิธีที่ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก )
2. การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยที่เลือกมาเป็นตัวแทนจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาเท่านั้น
3. การสัมภาษณ์ (interview )นิยมใช้กันมาก เพราะจะได้คำตอบทันที หากผู้ตอบไม่เข้าใจสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ แต่ผู้สัมภาษณ์ต้องซื่อสัตย์ และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูลอย่างแท้จริง
4. การสอบถามทางไปรษณีย์ ( mail )ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมาก สะดวกและสบายใจในการตอบแบบสอบถาม แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้ในเฉพาะที่มีการศึกษา มีไปรษณีย์ถึงคำถามต้องชัดเจน อาจไม่ได้รับคืนตามเวลาหรือจำนวนที่ต้องการ จึงต้องส่งไปเป็นจำนวนมากหรืออาจไปแจกและเก็บด้วยตนเอง
5. การสอบถามทางโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ต้องเป็นการสัมภาษณ์อย่างสั้น ๆ ตอบได้ทันที ใช้ได้เฉพาะส่วนที่มีโทรศัพท์
6. การสังเกต ( observation )เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่เราสนใจเอาไว้ ต้องใช้การสังเกตเป็นช่วง ๆของเวลาอย่างต่อเนื่องกัน ข้อมูลจะน่าเชื่อถือได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความชำนาญของผู้สังเกต
7. การทดลอง ( experiment )เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการทดลอง ซึ่งมักจะใชเวลาในการทดลองนาน ๆ ทำซ้ำ ๆมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มาก ถ้าไม่เกิดความคลาดเคลื่อนจากการวัดหรือการวางแผนการทดลอง
8. รายงานต่าง ๆของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล เช่น ทะเบียนประวัติบุคลากร ประวัติคนไข้ ทะเบียนนักเรียน นักศึกษา
ปัญหาในการใช้ข้อมูล
-ปัญหาในการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ
-ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล
-ความทันสมัยของข้อมูล
-การขาดหายไปของข้อมูลบางรายการ
-ปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ
-ไม่ทราบว่าจะใช้ วิธีเลือกตัวอย่าง หรือ วิธีการวางแผนการทดลอง แบบใดจึงเหมาะสม
-ไม่ทราบว่าจะ ประเมินความถูกต้องและเชื่อถือได้ ของข้อมูลอย่างไร
-ไม่ทราบว่าจะ วิเคราะห์ข้อมูล อย่างไร เมื่อข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนหรือขาดหายไป

